สวัสดีทุกท่านครับ

เว็บ mcupali.ac.th เป็นแหล่งรวบรวมคำบรรยายของคณาจารย์ในรายวิชาต่าง ๆ ที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ในระดับ ประกาศนียบัตร ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก โดยรวบรวมวีดีโอและเอกสารที่เกี่ยวข้อง  รวมทั้งรวบรวมธรรมบรรยายและบทความ เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับนิสิตในการทบทวนบทเรียน และเป็นข้อมูลในการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้าสำหรับท่านผู้สนใจ ขอให้ทุกท่านศึกษาได้ตามสะดวกนะครับ

หากมีความผิดพลาดประการใด ก็ขออภัยและขออโหสิกรรมด้วยครับ
ขอให้เจริญในธรรมทุกท่านครับ

 

ข้อมูลรายวิชา

ประกาศนียบัตร

พระไตรปิฎกศึกษา

ศึกษาประวัติความเป็นมา โครงสร้างและพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก การจำแนกประเภทคัมภีร์ในพระไตรปิฎก เนื้อหาโดยสังเขป พระสูตรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและหลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

ดูทั้งหมด

พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน

ศึกษาความหมายและความสำคัญของวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า หลักการสอนธรรมและการสอนปฏิบัติกรรมฐานตามแนวเทสนาหาระ สังเคราะห์หลักเทสนาหาระเข้ากับอริยสัจ ๔

ดูทั้งหมด

ปริญญาตรี

ธัมมสังคณีและวิภังคปาลิ

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม ความหมายของธัมมสังคณีและวิภังค์ โครงสร้างของคัมภีร์ธัมมสังคณี อธิบายและจำแนกองค์ธรรม ในติกมาติกา ๒๒ ทุกมาติกา ๑๔๒ แยกเป็นอภิธัมม ทุกมาติกา ๑๐๐ กับสุตตันติกทุกมาติกา ๔๒ ศึกษาวิธีการแสดงธรรมในกัณฑ์ทั้ง ๔ ได้แก่ จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ และอัฏฐกถากัณฑ์ ศึกษาวิธีจำแนกวิภังค์ทั้ง ๑๘ วิภังค์ โดยสุตตันตภาชนีย์ อภิธัมมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ อธิบายและแจกแจงองค์ธรรมของวิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท สัจจะ และโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด นำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติและการอธิบายหลักธรรมให้ถูกต้อง โดยยกตัวอย่างประกอบ

ดูทั้งหมด

ธาตุกถาและปุคคลบัญญัตติปาลิ

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม ความหมายของธาตุกถาและปุคคลบัญญัติปาลิ โครงสร้างของคัมภีร์ธาตุกถา มาติกาทั้ง ๕ ลักษณะพิเศษของการอธิบายสภาวธรรมในรูปแบบธาตุกถา โครงสร้างรูปประโยคบาลีของการแสดงธาตุกถา วิธีการเขียนแลอธิบายหลักธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะเป็นต้น ด้วยรูปแบบของธาตุกถา โครงสร้างของคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ การจำแนกสัจจะ ๒ ประเภท การจำแนกองค์ธรรมปรมัตถ์ของ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ สัจจะ ๔ และศึกษาตัวอย่างจำแนกบุคคลหมวดละ ๑ จนถึงหมวดละ ๑๐ อธิบายการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอธิบายหลักธรรมให้ถูกต้อง โดยยกตัวอย่างหลักธรรมประกอบ

ดูทั้งหมด

กถาวัตุปาลิ

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม การแตกแยกนิกาย และความเห็นที่แตกต่างกันหลังจากสังคายนาครั้งที่ ๒ จนกระทั่งมีการชำระพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ โดยพระ โมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีพระเจ้าอโศกมหารชเป็นผู้อุปถัมภ์ อธิบายความหมายของกถาวัตถุโดยคำแปล โครงสร้างของคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งประกอบด้วย ๒๓ วรรค ๒๒๖ กถา ลักษณะของอนุโลมปัจจนีกะที่เริ่มต้นจากฝ่ายสกวาทีถามก่อน ลักษณะปัจจนีกานุโลมะที่เริ่มต้นจากฝ่ายปรวาทีถามก่อน อธิบายความเห็นที่แตกต่างของสกวาทีกับปรวาที ในเรื่องบุคคล ทาน ศีล การเกิดใหม่ อสังขตธรรม เป็นต้น

ดูทั้งหมด

ยมกปาลิ

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม ความหมายของยมกโดยคำแปล ศึกษาโครงสร้างของคัมภีร์ยมก ซึ่งประกอบด้วยยมกทั้ง ๑๐ ยมก ลักษณะพิเศษของการอธิบายสภาวธรรมในรูปแบบยมก ส่วนประกอบของยมก โครงสร้างของแต่ละยมก โดยในมูลยมก มีโครงสร้างการแสดงที่แตกต่างจากยมกอื่น ๆ ส่วนในขันธยมกเป็นต้นไป มีโครงร้างแบบเดียวกัน แยกเป็นอุทเทส นิทเทส และแสดงโดยวาระ ๓ อธิบายความหมายในแต่ละวาระ รูปแบบการตั้งคำถาม ยกตัวอย่างแจกแจงสภาวธรรมในยมก ทำให้เข้าใจเหตุผลว่า เหตุใดจึงตั้งคำถามและตอบเช่นนั้น อธิบายการนำองค์ความรู้ที่ได้จากแต่ละยมก นำไปใช้ในการอธิบายหลักธรรมให้ถูกต้อง โดยยกตัวอย่างหลักธรรมประกอบ

ดูทั้งหมด

ปัฏฐานปาลิ

ศึกษาความหมายของปัฏฐานโดยคำแปลและอธิบายตามอรรถกถา ศึกษาโครงสร้างของคัมภีร์ ปัฏฐานซึ่งประกอบด้วย ปัฏฐาน ๖ หมวดโดยนำติกมาติกาและทุกมาติกามาทำการจำแนก วิธีการแสดง ๔ นัย แสดงโดย ๗ วาระ ปัจจยสัตติ ๔ แบบ ตอนตั้งคำถามเป็นปุจฉาวาระ และตอนตอบคำถามเป็นวิสัชชนาวาระ ศึกษาปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัยเป็นต้น อธิบายปัจจัยธรรม ปัจจยุปปันนธรรม และปัจจนิก ธรรมของแต่ละปัจจัย

ดูทั้งหมด

ปริญญาโท

ปรมัตถธรรม

ศึกษาเนื้อหาเกี่ยวกับปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ให้เข้าใจถึงลักษณะ กิจหน้าที่ อาการปรากฏ และ เหตุใกล้ให้เกิด เข้าใจถึงวิธีการนับจํานวน วิธีแยกประเภท ในรูปแบบต่าง ๆ และสามารถเชื่อมโยงไปสู่วิปัสสนาภูมิทั้ง ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒ และปฏิจจสมุปบาทได้

ดูทั้งหมด

พระอภิธรรมปิฎกวิเคราะห์

ศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก เน้นเรื่องพัฒนาการ เรื่องกำเนิดของพระอภิธรรมในพระพุทธศาสนา ปัญหาความมีอยู่อยู่และความเกี่ยวข้องของพระอภิธรรมกับการแตกแยกทางนิกาย หลักปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน วิเคราะห์ขันธ์ ๕ ในคัมภีร์วิภังค์ รวมถึงปัญหาทางอภิธรรมอื่น ๆ ที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎกและคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กถาวัตถุ อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น โดยใช้หลักฐานอ้างอิงจากอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ปกรณ์วิเสส และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบในการศึกษา

ดูทั้งหมด

ปริญญาเอก

เนตติปกรณ์

ศึกษาความเป็นมา โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์เนตติปกรณ์ ศึกษาวิธีการอธิบายพระพุทธพจน์ตามนัยของคัมภีร์เนตติ ได้แก่ (๑) การอธิบายด้านพยัญชนะ ตามหลักหาระ ๑๖ มีเทสนาหาระเป็นต้น (๒) การอธิบายด้านอรรถะ ตามหลักนยะ ๕ มีนันทิยาวัฏฏนัยเป็นต้น (๓) การจัดหมวดหมู่พระพุทธพจน์โดยอาศัยเนื้อหาสาระ ตามหลักสาสนปัฏฐาน ๑๖ ประการ และสาสนปัฏฐาน ๒๘ ประการ ศึกษาเนื้อหาสาระในมูลบท ๑๘ และตัวอย่างการอธิบายพระพุทธพจน์

ดูทั้งหมด

อริยสัจวิเคราะห์

ศึกษาวิเคราห์ความหมายและความสำคัญของอริยสัจ ๔ และแง่มุมต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก เชื่อมโยงกับหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และวิเคราะห์หาความสอดคล้องกับการเจริญ สติปัฏฐาน ๔

ดูทั้งหมด

ปฏิสัมภิทามรรควิเคราะห์

ศึกษาความหมายและความสำคัญของคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ศึกษาสภาวญาณ หลักธรรมสำคัญ วิธีการขยายความหลักธรรม และแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแบบต่าง ๆ ที่พระธรรมเสนาบดี สารีบุตรอธิบายไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเนื้อหาในพระสูตรต่าง ๆ

ดูทั้งหมด

บทความ

สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๕

สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๕ บรรยายวันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๔ ขอนอบน

อ่านเพิ่มเติม
สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๔

สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๔ บรรยายวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๕๔ ขอนอบ

อ่านเพิ่มเติม
สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๓

สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๓ บรรยายวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ขอนอบ

อ่านเพิ่มเติม
สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๒

สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๒ บรรยายวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๔ ขอนอบ

อ่านเพิ่มเติม
สติปัฏฐาน ๔ ตอนที่ ๑

ธรรมพื้นฐาน โพธิปักขิยธรรม สติปัฏฐาน ๔ ความหมายของสติปัฏฐาน อานิสงส์ของสติปัฏฐาน ธรรมที่ต้องใช้เสมอ ๓ ประการ และวิธีปฏิบัติหมวดลมหายใจเข้าออก

อ่านเพิ่มเติม