พระอภิธรรมปิฎกวิเคราะห์
รหัส ๖๒๐ ๓๐๘ หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพระไตรปิฎกศึกษา
ศึกษาโครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก เน้นเรื่องพัฒนาการ เรื่องกำเนิดของพระอภิธรรมในพระพุทธศาสนา ปัญหาความมีอยู่อยู่และความเกี่ยวข้องของพระอภิธรรมกับการแตกแยกทางนิกาย หลักปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน วิเคราะห์ขันธ์ ๕ ในคัมภีร์วิภังค์ รวมถึงปัญหาทางอภิธรรมอื่น ๆ ที่ปรากฏในพระอภิธรรมปิฎกและคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กถาวัตถุ อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น โดยใช้หลักฐานอ้างอิงจากอรรถกถา ฎีกา อนุฎีกา ปกรณ์วิเสส และคัมภีร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบในการศึกษา
– แนวสังเขปรายวิชา
– วัตถุประสงค์ของรายวิชา
– การวัดและประเมินผล
– พระอภิธรรมในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในพระไตรปิฎก
– ความหมายของอภิธรรมปิฎก
– ความหมายของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎกทั้ง ๗ คัมภีร์
– ความเป็นมาของพระอภิธรรมปิฎก
– พัฒนาการของพระอภิธรรมปิฎกและคัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม
– ลักษณะของพระอภิธรรมปิฎก
เนื้อความย่อของพระอภิธรรปิฎก คือปรมัตถธรรม ๔ ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๑ ธัมมสังคณี
โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๒ วิภังค์
โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๓ และ คัมภีร์ที่ ๔ ธาตุกถาและปุคคลบัญญัตติ
โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ
โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๖ ยมก
โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์พระอภิธรรมปิฎก คัมภีร์ที่ ๗ ปัฏฐาน
นิสิตนำเสนอผลงานวิจัย การวิเคราะห์หลักธรรมตามแนวพระอภิธรรมปิฎก
สรุปรายวิชา การส่งงานที่มอบหมาย และข้อสอบปลายภาคเรียน