คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาวิเคราห์ความหมายและความสำคัญของอริยสัจ ๔ และแง่มุมต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในพระไตรปิฎก เชื่อมโยงกับหลักปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา และวิเคราะห์หาความสอดคล้องกับการเจริญ สติปัฏฐาน ๔

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจความหมายและองค์ธรรมของอริยสัจ ๔
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจการวิเคราะห์และวิธีการแสดงอริยสัจ ๔ ในแง่มุมต่าง ๆ
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจความสำคัญของอริยสัจ ๔ ในแง่มุมต่าง ๆ
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจสิ่งที่ควรทราบพิเศษเกี่ยวกับเรื่องอริยสัจ ๔
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจวิธีการแจกแจงขยายความอริยสัจ ๔ ในแบบต่าง ๆ
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจการเชื่อมโยงอริยสัจ ๔ ไปสู่การปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจความสอดคล้องกันของอริยสัจ ๔ กับการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  รายละเอียดรายวิชา

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล

ครั้งที่ ๒  ความหมายและลักษณะ

  • แยกสัจจะตามภาวะ
  • ตามรูปศัพท์
  • ลักษณะเป็นต้น
  • อัตถะแห่งสัจจศัพท์
  • ไม่หย่อนและไม่ยิ่ง
  • ลำดับการแสดง

ครั้งที่ ๓  สภาวะและความว่าง

  •  กิจแห่งญาณในอริยสัจ
  • สงเคราะห์ธรรมลงในอริยสัจ
  • อุปมาอริยสัจ
  • อริยสัจข้อละ ๔
  • ความว่างกับอริยสัจ
  • สภาวะอย่างเดียวเป็นต้น

ครั้งที่ ๔  สัจจวิภังค์

  • สภาคะและวิสภาคะ
  • อธิบายตามแนวสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายตามแนวอภิธัมมภาชนีย์
  • อธิบายตามแนวปัญหาปุจฉกะ

ครั้งที่ ๕  อริยสัจนัยปฏิสัมภิทา

  • ธรรม ๑๑ หมวด ๒๐๑ บท
  • การประกอบอริยสัจ ๕ แบบ
  • ปฐมสุตตันตนิทเทส
  • ทุติยสุตตันตนิทเทส

ครั้งที่ ๖  อริยสัจในสัจจยมก

  • ความหมายและวิธีการยมก
  • ชำระบท ๘ บท โดยองค์ธรรม
  • ทุกข์ ทุกขสัจ
  • สมุทย สมุทยสัจ
  • นิโรธ นิโรธสัจ
  • มัคค มัคคสัจ

ครั้งที่ ๗  สัจจยมก และ สัจจกถา

  • วิเคราะห์อริยสัจโดยวาระ ๓
  • ปวัตติวาระ และ ปริญญาวาระ
  • ทำความเข้าใจคัมภีร์กถาวัตถุ
  • ความเห็นต่างกันในสัจจกถา

ครั้งที่ ๘  ความสำคัญและประโยชน์

  • ปฏิญญากรณธรรม
  • สามุกกังสิกธรรม เอกังสิกธรรม
  • พยากตธรรม อักขาตธรรม
  • โทษของความไม่รู้อริยสัจ
  • ประโยชน์ของความรู้อริยสัจ

ครั้งที่ ๙  ญาณ และ วิปัสสนา

  • ญาณ ๓ รอบในอริยสัจ ๔
  • สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ
  • ญาณในอริยสัจ ๔๔ หรือ ๗ เป็นต้น
  • อริยสัจกับการเจริญวิปัสสนา
  • วิปัสสนากับการประกอบอริยมรรค

ครั้งที่ ๑๐  อริยสัจกับสติปัฏฐาน

  • อริยสัจในสติปัฏฐาน ๒๑ หมวด
  • อริยสัจในอานาปานสติ ๑๖ ขั้น
  • สติในการกำหนดสภาวะเป็นทุกขสัจ
  • ตัณหาอดีตเป็นสมุทยสัจเป็นต้น

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

– แนวสังเขปรายวิชา
– วัตถุประสงค์ของรายวิชา
– การวัดและประเมินผล
– ความหมายของอริยสัจ
– ความหมายของอริยสัจแต่ละข้อมี
ทุกขอริยสัจเป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๒

– องค์ธรรมของอริยสัจ ๔
– วิเคราะห์อริยสัจ ๔ ในแง่มุมต่าง ๆ ได้แก่ กิจของญาณ อุปมา และโดยสุญญตะเป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๓ – ๔

– การแสดงอริยสัจในแนวพระสูตร พระอภิธรรม และการถามตอบอริยสัจในเชิงวิชาการ
– การแสดงประกอบอริยสัจเข้ากับธรรมทั้งปวง

สัปดาห์ ที่ ๕

– การทวนสอบความเข้าใจอริยสัจด้วยวิธีการของยมก

สัปดาห์ ที่ ๖

– ความสำคัญของอริยสัจ ๔
– ประโยชน์ของการรู้อริยสัจ ๔
– โทษของการไม่รู้อริยสัจ ๔

สัปดาห์ ที่ ๗

สิ่งที่ควรทราบพิเศษเกี่ยวกับอริยสัจ ๔ ในประเด็น ดังนี้
– กิจในอริยสัจ
– ความรู้ในอริยสัจ

สัปดาห์ ที่ ๘

การแจกแจงขยายความอริยสัจ ๔ ในแบบต่าง ๆ ดังนี้
– แบบทั่วไป
– แบบแจกแจงทุกข์เป็นอุปาทานขันธ์
– แบบแจกแจงทุกข์เป็นอายตนะ
– แบบขยายความสมุทัยกับนิโรธ
– แบบแสดงเป็นปฏิจจสมุปบาท
– แบบเปลี่ยนทุกข์เป็นสักกายะ
– แบบอริยสัจในปฏิจจสมุปบาท

สัปดาห์ ที่ ๙

การเชื่อมโยงอริยสัจ ๔ กับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา

สัปดาห์ ที่ ๑๐

ความสอดคล้องกันของอริยสัจกับการปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔

สัปดาห์ ที่ ๑๑ – ๑๕

นิสิตนำเสนอผลงานวิจัย การวิเคราะห์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในพระสูตรต่าง ๆ

สัปดาห์ ที่ ๑๖

สรุปรายวิชา การส่งงานที่มอบหมาย และข้อสอบปลายภาคเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • สุภีร์ ทุมทอง. (๒๕๖๑). อริยสัจ ๔. พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : ภาพพิมพ์ จำกัด. (จำนวน ๔๐๗ หน้า)
  • _______ . (๒๕๕๙). สติปัฏฐาน ๔ (ชุด โพธิปักขิยธรรม เล่ม ๑). พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ฟองทอง. เอนเตอร์ไพรส์ จำกัด. (จำนวน ๓๗๕ หน้า)
  • _______ . (๒๕๕๙). สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ (ชุด โพธิปักขิยธรรม เล่ม ๒). พิมพ์ครั้งที่ ๒. นนทบุรี : ภาพพิมพ์. (จำนวน ๓๐๓ หน้า)
  • _______ . ๒๕๕๙). อินทรีย์ ๕ พละ ๕ (ชุด โพธิปักขิยธรรม เล่ม ๓). พิมพ์ครั้งที่ ๑. นนทบุรี : ภาพพิมพ์. (จำนวน ๒๐๗ หน้า)
  • _______ . (๒๕๖๐). โพชฌงค์ ๗ (ชุด โพธิปักขิยธรรม เล่ม ๔). พิมพ์ครั้งที่ ๑. นนทบุรี : ภาพพิมพ์. (จำนวน ๔๖๓ หน้า)
  • _______ . (๒๕๖๐). อริยมรรคมีองค์ ๘ (ชุด โพธิปักขิยธรรม เล่ม ๕). พิมพ์ครั้งที่ ๑. นนทบุรี : ภาพพิมพ์. (จำนวน ๓๖๗ หน้า)
  • _______ . (๒๕๖๑). ปฏิจจสมุปบาท เล่ม ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด. (จำนวน ๔๓๕ หน้า)
  • _______ . (๒๕๖๒). อุทเทสแห่งสติปัฏฐาน. พิมพ์ครั้งที่ ๑. นนทบุรี : ภาพพิมพ์. (จำนวน ๑๙๒ หน้า)
  • อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย. ปริจเฉท ๑ – ๒ – ๖ จิต เจตสิก รูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๓.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม