คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความหมายและความสำคัญของวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า หลักการสอนธรรมและการสอนปฏิบัติกรรมฐานตามแนวเทสนาหาระ สังเคราะห์หลักเทสนาหาระเข้ากับอริยสัจ ๔

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • นิสิตเข้าใจเป้าหมายการสอนของพระพุทธเจ้า
  • นิสิตเข้าใจคุณสมบัติผู้สอนที่มีอยู่ตัวพระพุทธเจ้า
  • นิสิตเข้าใจเนื้อธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง
  • นิสิตเข้าใจวิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
  • นิสิตเข้าใจอุบายประกอบการสอนของพระพุทธเจ้า
  • นิสิตเข้าใจระบบแบบแผนการสอนของพระพุทธเจ้า
  • นิสิตเข้าใจการวิเคราะห์อริยสัจ ๔ ด้วยหลักเทสนาหาระ

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑

  • รายละเอียดรายวิชา
  • เป้าหมายการสอนของพระพุทธเจ้า
  • กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ
  • พระอริยบุคคล ๔ ระดับ

ครั้งที่ ๒  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๒

  • คุณสมบัติผู้สอน
  • คุณสมบัติด้านกายภาพ
  • คุณสมบัติด้านปัญญา
  • ความเป็นกัลยาณมิตร

ครั้งที่ ๓  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๓

  • เนื้อธรรมที่ทรงสอน
  • อริยสัจ ๔ หลักธรรมที่จำเป็นและเพียงพอ
  • โพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด ๓๗ ประการ
  • ศาสดาผู้สอนอนัตตา

ครั้งที่ ๔  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๔

  • วิธีการสอนแบบทั่วไป
  • ทรงเคารพธรรม
  • ทรงตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในพระทัย

ครั้งที่ ๕  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๕

  • วิธีการสอนแบบทั่วไป(ต่อ)
  • สร้างความคุ้นเคยและบรรยายกาศ
  • แสดงให้เห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง
  • แสดงธรรมงามทั้ง ๓ ด้าน

ครั้งที่ ๖  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๖

  • วิธีการสอนแบบทั่วไป(ต่อ)
  • สอนรู้จริง มีเหตุ มีปาฏิหาริย์
  • สอนตามลำดับ

ครั้งที่ ๗  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๗

  • วิธีการสอนแบบทั่วไป(ต่อ)
  • สอนตรงเนื้อหา
  • สอนสิ่งจริง แท้ และมีประโยชน์
  • สอนมุ่งไปสู่การปฏิบัติ
  • สอนตามจริตอัธยาศัย
  • สอนตามความพร้อม

ครั้งที่ ๘  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๘

  • วิธีการสอนแบบทั่วไป(ต่อ)
  • สอนตามความพร้อมของผู้ฟัง
  • รอสมาธิ
  • รอธรรมบ่มวิมุตติ

ครั้งที่ ๙  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๙

  • วิธีการสอนแบบต่าง ๆ
  • แบบบรรยายธรรม
  • แบบถามนำปัญญา
  • แบบตอบคำถาม

ครั้งที่ ๑๐  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑๐

  • วิธีการสอนแบบต่าง ๆ
  • แบบสนทนาธรรม
  • แบบแสดงเหตุผลบัญญัติพระวินัย

ครั้งที่ ๑๑  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑๑

  • อุบายประกอบการสอน
  • การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
  • อุปมาเปรียบเทียบ
  • อุทาหรณ์หรือนิทานประกอบ
  • เปลี่ยนความหมายของคำ

ครั้งที่ ๑๒  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑๒

  • อุบายประกอบการสอน(ต่อ)
  • อุปกรณ์เสริมหรือถามปัญหา
  • อุบายเฉพาะผู้ฟังแต่ละคน

ครั้งที่ ๑๓  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑๓

  • ระบบแบบแผนการสอน
  • ระบบคฤหัสถ์
  • ระบบบรรพชิต
  • ระบบเรียงลำดับสภาวธรรม
  • ระบบเรียงลำดับธรรมดำเนินงาน

ครั้งที่ ๑๔  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑๔

  • ระบบแบบแผนการสอน(ต่อ)
  • ระบบเรียงลำดับความบริสุทธิ์
  • ระบบเรียงลำดับปัญญา

ครั้งที่ ๑๕  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑๕

  • ระบบแบบแผนการสอน(ต่อ)
  • ระบบเรียงลำดับปัญญา

ครั้งที่ ๑๖  พุทธวิธีการสอนกรรมฐาน ๑๖

  • เทสนาหาระ ๖ กับ อริยสัจ ๔
  • ตัวอย่างการอธิบาย

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

๑. แนะนำแผนการสอน
   ๑.๑ คำอธิบายรายวิชา
   ๑.๒ วัตถุประสงค์รายวิชา
   ๑.๓ กิจกรรมการเรียนการสอน
   ๑.๔ วิธีการประเมินผล
๒. เป้าหมายการสอนของพระพุทธเจ้า

สัปดาห์ ที่ ๒

คุณสมบัติผู้สอน ด้านความเป็นกัลยาณมิตร บุคลิกภาพ และคุณธรรม

สัปดาห์ ที่ ๓

เนื้อธรรมที่ทรงสอน ได้แก่ อริยสัจ ๔ โพธิปักขิยธรรม และหลักอนัตตา

สัปดาห์ ที่ ๔ – ๑๐

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า
(๑) หลักทั่วไปในการสอน ได้แก่ สอนโดยเคารพ ตั้งธรรม ๕ ประการไว้ในใจ สร้างความคุ้นเคย เป็นต้น
(๒) วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ได้แก่ แบบบรรยาย แบบถามนำปัญญา แบบตอบคำถาม เป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๑๑ – ๑๒

อุบายประกอบการสอน ได้แก่ ทำเป็นตัวอย่าง อุปมาเปรียบเทียบ อุทาหรณ์ การเปลี่ยนความหมายของคำเป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๑๓ – ๑๕

ระบบแบบแผนการสอน ได้แก่ ระบบคฤหัสถ์ ระบบบรรพชิต เรียงลำดับสภาวธรรม เป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๑๖

วิธีการวิเคราะห์อริยสัจ ๔ ในพระพุทธพจน์ ด้วยเทสนาหาระเป็นต้น ในคัมภีร์เนตติปกรณ์

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย, พิมพ์ครั้งที่ ๑๘, ๒๕๕๖.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม