คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม ความหมายของธัมมสังคณีและวิภังค์ โครงสร้างของคัมภีร์ธัมมสังคณี อธิบายและจำแนกองค์ธรรม ในติกมาติกา ๒๒ ทุกมาติกา ๑๔๒ แยกเป็นอภิธัมม ทุกมาติกา ๑๐๐ กับสุตตันติกทุกมาติกา ๔๒ ศึกษาวิธีการแสดงธรรมในกัณฑ์ทั้ง ๔ ได้แก่ จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ และอัฏฐกถากัณฑ์ ศึกษาวิธีจำแนกวิภังค์ทั้ง ๑๘ วิภังค์ โดยสุตตันตภาชนีย์ อภิธัมมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ อธิบายและแจกแจงองค์ธรรมของวิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ ปฏิจจสมุปบาท สัจจะ และโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด นำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปฏิบัติและการอธิบายหลักธรรมให้ถูกต้อง โดยยกตัวอย่างประกอบ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • นิสิตเข้าใจความหมายและโครงสร้างของคัมภีร์ธัมมสังคณีและคัมภีร์วิภังค์
  • นิสิตเข้าใจในอุทเทสของคัมภีร์อภิธรรมปิฎก คือ ติกมาติกา ๒๒ ติกะ และทุกมาติกา ๑๔๒ ทุกะ แยกเป็นอภิธัมมทุกมาติกา ๑๐๐ ทุกะ กับ สุตตันติกทุกมาติกา ๔๒ ทุกะ
  • นิสิตสามารถเขียนคำอธิบายและจำแนกองค์ธรรมในติกมาติกาและทุกมาติกาได้อย่างถูกต้อง
  • นิสิตเข้าใจวิธีการแสดงหลักธรรมในคัมภีร์ธัมมสังคณีทั้ง ๔ กัณฑ์ ได้แก่ จิตตุปปาทกัณฑ์ รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ และอัฏฐกถากัณฑ์
  • นิสิตเข้าใจวิธีการแสดงจำแนกวิภังค์ทั้ง ๑๘ วิภังค์ โดยจำแนกเป็นสุตตันตภาชนีย์ อภิธัมมภาชนีย์ และปัญหาปุจฉกะ
  • นิสิตสามารถจำแนกองค์ธรรมของวิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาทมีองค์ ๑๒ สัจจะ ๔ และ โพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด ๓๗ ประการได้อย่างถูกต้อง
  • นิสิตสามารถนำองค์ความรู้ไปอธิบายหลักธรรมได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  ธัมมสังคณี ๑

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล

ครั้งที่ ๒  ธัมมสังคณี ๒

  • ความหมายของธัมมสังคณี
  • โครงสร้างคัมภีร์ธัมมสังคณี
  • มาติกา ๒
  • กัณฑ์ ๔

ครั้งที่ ๓  ธัมมสังคณี ๓

  • รูปวิเคราะห์ศัพท์ กุสลติกะ
  • องค์ธรรมของกุสลติกะ
  • จัดสงเคราะห์โดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ

ครั้งที่ ๔  ธัมมสังคณี ๔

  • อธิบายวิปากติกะ
  • อธิบายเหตุทุกะ
  • วิเคราะห์โดยศัพท์และองค์ธรรม
  • สงเคราะห์โดยขันธ์เป็นต้น

ครั้งที่ ๕  ธัมมสังคณี ๕

  • อธิบายจิตตุปปาทกัณฑ์
  • วิธีการแสดงจิตและเจตสิก
  • มหาวาระ ๓

ครั้งที่ ๖  ธัมมสังคณี ๖

  • จำแนกสภาวธรรมในกุศลจิต
  • จัดธรรม ๑๗ หมวดและเยวาปานกธรรม
  • วิเคราะห์โดยชื่อและสภาวะ
  • สงเคราะห์ธรรมโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น

ครั้งที่ ๗  ธัมมสังคณี ๗

  • การแสดงรูปในรูปกัณฑ์
  • การแสดงติกและทุกะในนิกเขปกัณฑ์
  • การแสดงองค์ในอัตถกถากัณฑ์

ครั้งที่ ๘  วิภังคปาลิ ๑

  • โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์วิภังค์
  • วิภังค์ ๑๘ อย่างและการจัดหมวดหมู่
  • วิธีการแสดงธรรมในวิภังค์

ครั้งที่ ๙  วิภังคปาลิ ๒

  • ความหมายขันธ์และองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

ครั้งที่ ๑๐  วิภังคปาลิ ๓

  • ความหมายอายตนะและองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

ครั้งที่ ๑๑  วิภังคปาลิ ๔

  • ความหมายธาตุและองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

ครั้งที่ ๑๒  วิภังคปาลิ ๕

  • ความหมายอริยสัจและองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

๑. แนะนำแผนการสอน
   ๑.๑ คำอธิบายรายวิชา
   ๑.๒ วัตถุประสงค์รายวิชา
   ๑.๓ กิจกรรมการเรียนการสอน
   ๑.๔ วิธีการประเมินผล
๒. ความเป็นมาของคัมภีร์อภิธรรม
๓. ความหมายและลักษณะพิเศษของคัมภีร์ธัมมสังคณีปาลิ

สัปดาห์ ที่ ๒

หลักปรมัตถธรรม ๔ โดยสังเขปได้แก่ (๑) จิต ๘๙ (๒) เจตสิก ๕๒ (๓) รูป ๒๘ (๔) นิพพพาน

สัปดาห์ ที่ ๓ – ๔

๑. ติกมาติกา ๒๒ และทุกมาติกา ๑๔๒ ยกตัวอย่างคำอธิบาย
๒. แจกแจงองค์ธรรมของมาติกา
๓. สงเคราะห์องค์ธรรมโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ และสัจจะ

สัปดาห์ ที่ ๕ – ๗

๑. วิธีแสดงจิตและเจตสิกที่เกิดพร้อมกันในจิตตุปปาทกัณฑ์
๒. การจำแนกหมวดธรรม
๓. สงเคราะห์ธรรมโดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ และสัจจะเป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๘ – ๙

รูปกัณฑ์ นิกเขปกัณฑ์ และอัตถกถากัณฑ์

สัปดาห์ ที่ ๑๐

๑.  ความหมายและโครงสร้างของคัมภีร์วิภังคปาลิ
๒. วิธีการจำแนกวิภังค์ ๑๘ โดยแยกเป็น (๑) สุตตันตภาชนีย์ (๒) อภิธัมมภาชนีย์ (๓) ปัญหาปุจฉกะ

สัปดาห์ ที่ ๑๑ – ๑๓

สรุปวิภังค์ ๑๘ ได้แก่ (๑) ขันธวิภังค์ (๒) อายตนวิภังค์ (๓) ธาตุวิภังค์ (๔) สัจจวิภังค์ (๕) อินทริยวิภังค์ (๖) ปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ (๗) สติปัฏฐานวิภังค์ (๘) สัมมัปปธานวิภังค์ (๙) อิทธิปาทวิภังค์ (๑๐) โพชฌังควิภังค์ (๑๑) มัคควิภังค์ (๑๒) ฌานวิภังค์ (๑๓) อัปปมัญญาวิภังค์ (๑๔) สิกขาปทวิภังค์ (๑๕) ปฏิสัมภิทาวิภังค์ (๑๖) ญาณวิภังค์ (๑๗) ขุททกวัตถุวิภังค์ (๑๘) ธัมมหทยวิภังค์

สัปดาห์ ที่ ๑๔ – ๑๕

อธิบายความหมาย องค์ธรรมและแจกแจงวิปัสสนาภูมิ ๖ ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สัจจะ ๔ และโพธิปักขิยธรรม ๗ หมวด

สัปดาห์ ที่ ๑๖

ทดสอบในชั้นเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ฉบับแปลเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย. มาติกาโชติกะ ธัมมสังคณีสรูปัตถนิสสยะ (หลักสูตรจูฬอาภิธรรมิกะเอก). พิมพ์ครั้งที่ ๑๐, กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิสัทธัมมโชติกะ, ๒๕๕๘.
  • _______ . ปริจเฉท ๑ – ๒ – ๖ จิต เจตสิก รูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๓.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม