คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม การแตกแยกนิกาย และความเห็นที่แตกต่างกันหลังจากสังคายนาครั้งที่ ๒ จนกระทั่งมีการชำระพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ โดยพระ โมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน มีพระเจ้าอโศกมหารชเป็นผู้อุปถัมภ์ อธิบายความหมายของกถาวัตถุโดยคำแปล โครงสร้างของคัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งประกอบด้วย ๒๓ วรรค ๒๒๖ กถา ลักษณะของอนุโลมปัจจนีกะที่เริ่มต้นจากฝ่ายสกวาทีถามก่อน ลักษณะปัจจนีกานุโลมะที่เริ่มต้นจากฝ่ายปรวาทีถามก่อน อธิบายความเห็นที่แตกต่างของสกวาทีกับปรวาที ในเรื่องบุคคล ทาน ศีล การเกิดใหม่ อสังขตธรรม เป็นต้น

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความเป็นมาของคัมภีร์กถาวัตถุ ทั้งส่วนที่เป็นมาติกาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ และส่วนที่เพิ่มเติมให้สมบูรณ์ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ เพื่อชำระพระธรรมวินัยให้บริสุทธิ์ โดยมีพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระเป็นประธาน
  • เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจวิธีการในการถามตอบปัญหาในคัมภีร์กถาวัตถุ ฝ่ายอนุโลมปัจจนีกะ ๕ รูปแบบ ได้แก่ อนุโลมปัญจกะ ปฏิกัมมจตุกกะ นิคคหจตุกกะ อุปนยนจตุกกะ นิคคมจตุกกะ และฝ่าย ปัจจนีกานุโลม ๕ รูปแบบ ได้แก่ ปัจจนีกปัญจกะ ปฏิกัมมจตุกกะ นิคคหจตุกกะ อุปนยนจตุกกะ นิคคมจตุกกะ
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจโครงสร้างของคัมภีร์ที่ถูกจัดแบ่งเป็น ๒๓ วรรค ๒๒๖ กถา
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจความเห็นที่แตกต่างกันของฝ่ายสกวาทีกับฝ่ายปรวาทีในเรื่องต่าง ๆ มีเรื่องทาน ศีล พระอรหันต์ สติปัฏฐาน อันตรภพ อสังขตธรรม พระพุทธเจ้า เป็นต้น
  • เพื่อให้นิสิตสามารถนำองค์ความรู้ไปอธิบายหลักธรรมได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  กถาวัตถุ ๑

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล
  • ความหมายและความเป็นมา

ครั้งที่ ๒  ธาตุกถา ๒

  • โครงสร้างด้านเนื้อหา
  • โครงสร้างด้านวิธีการ

ครั้งที่ ๓  ธาตุกถา ๓

  • อนุโลมปัจจนีกะและส่วนประกอบ

ครั้งที่ ๔  ธาตุกถา ๔

  • ปัจจนีกานุโลม และ นิคคหะ ๘

ครั้งที่ ๕  ธาตุกถา ๕

  • การชำระความเห็นในปุคคลกถา

ครั้งที่ ๖  ธาตุกถา ๖

  • การชำระความเห็นในปุคคลกถา(ต่อ)

ครั้งที่ ๗  ธาตุกถา ๗

  • สัพพมัตถีติกถา
  • สติปัฏฐานกถา

ครั้งที่ ๘  กถาวัตถุ ๘

  • กถาอสังขตะ ๖ เรื่อง

ครั้งที่ ๙  กถาวัตถุ ๙

  • กถาพระพุทธเจ้า
  • กถาพระอรหันต์

ครั้งที่ ๑๐  กถาวัตถุ ๑๐

  • กถาพระโสดาบัน
  • กถานิโรธสมาบัติ

ครั้งที่ ๑๑  กถาวัตถุ ๑๑

  • กถาทาน
  • ปริโภคมยปุญญกถา

ครั้งที่ ๑๒  กถาวัตถุ ๑๒

  • กถาเกี่ยวกับศีล

ครั้งที่ ๑๓  กถาวัตถุ ๑๓

  • กถากรรม
  • กถาวิบาก
  • อันตราภวกถา

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

๑. แนะนำแผนการสอน
   ๑.๑ คำอธิบายรายวิชา
   ๑.๒ วัตถุประสงค์รายวิชา
   ๑.๓ กิจกรรมการเรียนการสอน
   ๑.๔ วิธีการประเมินผล
๒. ความเป็นมาของคัมภีร์อภิธรรม การแตกนิกาย และความเห็นผิดต่าง ๆ

สัปดาห์ ที่ ๒

ความหมายและโครงสร้างของคัมภีร์ ๒๓ วรรค ๒๖๖ กถา

สัปดาห์ ที่ ๓ – ๔

วิธีการถามตอบเพื่อชำระความเห็น ฝ่ายอนุโลมปัจจนีกะ ในปุคคลกถา แยกเป็น (๑) อนุโลมปัญจกะ (๒) ปฏิกัมมจตุกกะ (๓) นิคคหจตุกกะ (๔) อุปนยนจตุกกะ (๕) นิคคมจตุกกะ

สัปดาห์ ที่ ๕

วิธีการถามตอบเพื่อชำระความเห็น ฝ่ายปัจจนีกานุโลม ในปุคคลกถา แยกเป็น (๑) ปัจจนีกปัญจกะ (๒) ปฏิกัมมจตุกกะ (๓) นิคคหจตุกกะ (๔) อุปนยนจตุกกะ (๕) นิคคมจตุกกะ

สัปดาห์ ที่ ๖ – ๗

การอ้างเหตุผลเชิงตรรกะของสกวาทีและปรวาที ในปุคคลกถา

สัปดาห์ ที่ ๘ – ๑๔

ความเห็นที่แตกต่างกันของสกวาที กับ ปรวาที ในกถาที่น่าสนใจ เช่น สติปัฏฐานกถา, อัญญาณกถา, กังขากถา, ปฏิจจสมุปปาทกถา, ปริหานิกถา, ทานกถา, ปริโภคปุญญมยกถา, สมาทานเหตุกถา, กัมมกถา, นิยามกถา, ทักขิณาวิสุทธิกถา และอันตราภวกถาเป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๑๕

สรุปลักษณะพิเศษและคุณค่าของคัมภีร์โดยภาพรวม การนำไปประยุกต์สำหรับอธิบายหลักธรรม โดยเฉพาะการแก้ความเห็นผิดที่ยังมีอยู่ในยุคปัจจุบัน

สัปดาห์ ที่ ๑๖

ทดสอบในชั้นเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ฉบับแปลเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปริจเฉท ๑ – ๒ – ๖ จิต เจตสิก รูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๓.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม