คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความเป็นมา โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์เนตติปกรณ์ ศึกษาวิธีการอธิบายพระพุทธพจน์ตามนัยของคัมภีร์เนตติ ได้แก่ (๑) การอธิบายด้านพยัญชนะ ตามหลักหาระ ๑๖ มีเทสนาหาระเป็นต้น (๒) การอธิบายด้านอรรถะ ตามหลักนยะ ๕ มีนันทิยาวัฏฏนัยเป็นต้น (๓) การจัดหมวดหมู่พระพุทธพจน์โดยอาศัยเนื้อหาสาระ ตามหลักสาสนปัฏฐาน ๑๖ ประการ และสาสนปัฏฐาน ๒๘ ประการ ศึกษาเนื้อหาสาระในมูลบท ๑๘ และตัวอย่างการอธิบายพระพุทธพจน์

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจความเป็นมาและความหมายของคัมภีร์เนตติปกรณ์
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจโครงสร้างของคัมภีร์เนตติปกรณ์
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจเนื้อหาของคัมภีร์เนตติปกรณ์
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจหลักการหาระ ๑๖ นยะ ๕ และสาสนปัฏฐานอย่างชัดเจน
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจรูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ในคัมภีร์เนตติปกรณ์
  • เพื่อให้นิสิตนำรูปแบบในเนตติปกรณ์ไปใช้ในการอธิบายพระพุทธพจน์ได้

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  รายละเอียดรายวิชา

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล

ครั้งที่ ๒(๑) คัมภีร์เนตติปกรณ์

  • ความเป็นมาของคัมภีร์
  • ความหมายของเนตติ
  • โครงสร้างของคัมภีร์

ครั้งที่ ๒(๒)  สังคหวาระ และ อุทเทสวาระ

  • สังคหวาระ ย่อเนื้อหาคัมภีร์
  • อุทเทสวาระ ชื่อหลักการ
  • หาระ ๑๖ นยะ ๕ มูลบท ๑๘

ครั้งที่ ๓  คำจำกัดความ

  • คำจำกัดความหาระ ๑๖
  • คำจำกัดความนยะ ๕
  • พยัญชนบท ๖ อัตถบท ๖
  • แบบแผน ๓๓ อย่าง

ครั้งที่ ๔  หาระ ๑๖ นยะ ๕

  • อธิบายหาระ ๑๖ ตามแนวอรรถกถา
  • วิเคราะห์ศัพท์หาระ
  • อธิบายนยะ ๕ ตามแนวอรรถกถา
  • วิเคราะห์ศัพท์นยะ

ครั้งที่ ๕  เทสนาหาระ

  • ความหมายเทสนาหาระ
  • ตัวอย่างเทสนาหาระ ๖
  • เทสนาหาระกับบุคคล ๓
  • เทสนาหาระกับอริยสัจ ๔

ครั้งที่ ๖  วิจยหาระเป็นต้น

  • อธิบายความหมายและตัวอย่าง
  • วิจยหาระ ยุตติหาระ ปทัฏฐานหาระ
  • ลักขณหาระ จตุพยูหหาระ อาวัฏฏหาระ
  • วิภัตติหาระ ปริวัตตนหาระ เววจนหาระ
  • ปัญญัตติหาระ โอตรณหาระ โสธนหาระ
  • อธิฏฐานหาระ ปริกขารหาระ สมาโรปนหาระ

ครั้งที่ ๗  นยสมุฏฐาน

  • มูลบท ๑๘ กับ นยะ ๓
  • การเชื่อมโยงกันของนยะ ๓
  • นันทิยาวัฏฏนัย
  • ติปุกขลนัย
  • สีหวิกกีฬิตนัย
  • ทิสาโลจนนัย
  • อังกุสนัย

ครั้งที่ ๘  สาสนปัฏฐาน ๑๖

  • ความหมายของสาสนปัฏฐาน
  • สังกิเลสภาคิยสูตร
  • วาสนาภาคิยสูตร
  • นิพเพธภาคิยสูตร
  • อเสกขภาคิยสูตร

ครั้งที่ ๙  สาสนปัฏฐาน ๒๘

  • จัดกลุ่มละ ๓ รวม ๗ กลุ่ม
  • ตัวอย่างตามพระพุทธพจน์
  • ความสัมพันธ์ ๑๖ กับ ๒๘
  • ระดับและวัตถุประสงค์ของเทศนา

ครั้งที่ ๑๐  ตัวอย่างการใช้หลักเนตติ

  • วิเคราะห์คาถาธรรมบท ๑
  • วิเคราะห์คาถาธรรมบท ๒
  • วิเคราะห์คาถาธรรมบท ๓
  • วิเคราะห์คาถาธรรมบท ๔
  • องค์ธรรมและสงเคราะห์อริยสัจ

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

– แนวสังเขปรายวิชา
– วัตถุประสงค์ของรายวิชา
– การวัดและประเมินผล
– ความเป็นมาของคัมภีร์เนตติปกรณ์
– ความหมายของเนตติตามรูปวิเคราะห์ของศัพท์

สัปดาห์ ที่ ๒

โครงสร้างของคัมภีร์เนตติปกรณ์ อันประกอบด้วย ๔ ส่วน ได้แก่ (๑) สังคหวาระ (๒) อุทเทสวาระ (๓) นิทเทสวาระ (๔) ปฏินิทเทสวาระ

สัปดาห์ ที่ ๓

– เนื้อหาของคัมภีร์เนตติปกรณ์ ประกอบด้วย หาระ ๑๖ นยะ ๕ สาสนปัฏฐาน ๑๖ และ ๒๘
– ความหมายของหาระ ตามรูปวิเคราะห์ของศัพท์
– ความหมายของนยะ ตามรูปวิเคราะห์ของศัพท์
– ความหมายของสาสนปัฏฐานตามรูปวิเคราะห์ของศัพท์

สัปดาห์ ที่ ๓ – ๕

อธิบายและวิเคราะห์หาระ ๑๖ พร้อมยกตัวอย่างพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก

สัปดาห์ ที่ ๖ – ๗

อธิบายและวิเคราะห์นยะ ๕ พร้อมยกตัวอย่างพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก

สัปดาห์ ที่ ๘

อธิบายและวิเคราะห์สาสนปัฏฐาน ๑๖ พร้อมยกตัวอย่างพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก

สัปดาห์ ที่ ๙

– อธิบายและวิเคราะห์สาสนปัฏฐาน ๒๘ พร้อมยกตัวอย่างพระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎก
– ความเชื่อมโยงระหว่างสาสนปัฏฐาน ๑๖ กับ สาสนปัฏฐาน ๒๘

สัปดาห์ ที่ ๑๐

ตัวอย่างการอธิบายหลักธรรมโดยใช้หลักหาระ ๑๖

สัปดาห์ ที่ ๑๑

ตัวอย่างการอธิบายหลักธรรมโดยใช้หลักนยะ ๕ และสาสนปัฏฐาน

สัปดาห์ ที่ ๑๒ – ๑๕

นิสิตนำเสนอผลการวิจัยเกี่ยวกับหลักการในเนตติปกรณ์ ตามที่นิสิตสนใจ รูปละ ๑ เรื่อง

สัปดาห์ ที่ ๑๖

สรุปรายวิชา การส่งงานที่มอบหมาย และข้อสอบปลายภาคเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • ________. เนตฺติ-เปฏโกปเทสปกรณํ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๔๐.
  • ________. เนตฺติอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • ________. เนตฺติฏีกาและเนตฺติวิภาวินี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๘.
  • พระมหากัจจายนเถระ. เนตติปกรณ์. พระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ตรวจชำระ, พระคันธสาราภิวงศ์ แปลและอธิบาย. กรุงเทพมหานคร : หจก.ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๕๐.
  • ________. เนตติปกรณ์แปลและเนตติสารัตถทีปนี. แปลโดย คุณารักษ์ นพคุณ. กรุงเทพมหานคร : หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๔๔.
  • พระธรรมบาลเถระ. เนตติอรรถกถา. พระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ตรวจชำระ, แปลและอธิบายโดย พระคันธสาราภิวงศ์. นครปฐม : หจก.ซีไอเอเซ็นเตอร์, ๒๕๕๑.
  • ________. เนตติฎีกา. พระธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต ตรวจชำระ, แปลและอธิบายโดย พระคันธสาราภิวงศ์. นครปฐม : หจก.ซีไอเอเซ็นเตอร์, ๒๕๕๑
  • จำรูญ ธรรมดา. เนตติฏิปปนี. กรุงเทพมหานคร : หจก.ไทยรายวันการพิมพ์, ๒๕๔๖.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • นายปรุตม์ ปุญศรีตัน. “รูปแบบการตีความคัมภีร์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๐.
  • สุภีร์ ทุมทอง. “การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์” ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม