คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความหมายและความสำคัญของคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค ศึกษาสภาวญาณ หลักธรรมสำคัญ วิธีการขยายความหลักธรรม และแนวทางการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาแบบต่าง ๆ ที่พระธรรมเสนาบดี สารีบุตรอธิบายไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบกับเนื้อหาในพระสูตรต่าง ๆ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจความหมายและความสำคัญของปฏิสัมภิทามรรค
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจเหตุผลลำดับการแสดง ๓๐ กถาในคัมภีร์
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจสภาวญาณและแนวทางปฏิบัติวิปัสสนาในคัมภีร์
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจหลักธรรมสำคัญในกระบวนการปฏิบัติวิปัสสนาในคัมภีร์
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจวิธีการขยายความหลักธรรมตามแนวปฏิสัมภิทามรรค
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจการเชื่อมโยงปฏิสัมภิทามรรคกับพระพุทธพจน์ในพระสูตรต่าง ๆ

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  รายละเอียดรายวิชา

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล

ครั้งที่ ๒  คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค

  • ความหมายปฏิสัมภิทามรรค
  • โครงสร้างด้านเนื้อหา
  • โครงสร้างด้านวิธีการ
  • แบ่ง ๓ วรรค จำนวน ๓๐ กถา

ครั้งที่ ๓  มาติกาญาณ ๗๓

  • ญาณ ๖๗ และอสาธารณญาณ ๖
  • วิเคราะห์สุตมยญาณ
  • วิเคราะห์สีลมยญาณ
  • วิเคราะห์สมาธิภาวนามยญาณ
  • วิเคราะห์ธัมมัฏฐิติญาณ

ครั้งที่ ๔  สุตมยญาณนิทเทส

  • แบ่งธรรมเป็น ๑๖ หมวด
  • ธรรมทั้งปวง ๓๐ อย่าง
  • ธรรม ๑๑ หมวด ๒๐๑ บท
  • ธรรม ๒๐๑ บท สงเคราะห์อริยสัจ ๔
  • ธรรม ๒๐๑ บท สงเคราะห์อนุปัสสนา ๗

ครั้งที่ ๕  หมวดธรรมสำคัญ

  • ลักษณะอริยสัจข้อละ ๔ รวม ๑๖
  • ธรรมภาวนา ๓๗ ละปฏิปักษ์ ๓๗
  • ธรรมฝ่ายมรรค ๕๔
  • สัญญามนสิการ
  • ลักษณะพื้นฐานของไตรลักษณ์
  • ขยายความอริยสัจ ๔

ครั้งที่ ๖  ทิฏฐิกถา

  • ทิฏฐิคือความถืออย่างมั่นคง
  • เหตุเกิดแห่งทิฏฐิ ๘ อย่าง
  • ทิฏฐิปริยุฏฐาน ๑๘ แบบ
  • ทิฏฐิ ๑๖ ชนิด
  • ความยึดด้วยทิฏฐิ ๓๐๐ แบบ
  • โสดาปัตติถอนทิฏฐิ

ครั้งที่ ๗  อานาปานัสสติกถา

  • ญาณ ๒๒๐ เกิดจากอานาปานัสสติสมาธิ
  • ญาณในอันตราย ๘ ญาณในอุปการะ ๘
  • ญาณในอุปกิเลส ๑๘ ญาณในโวทาน ๑๓
  • ญาณในการทำสติ ๓๒ 
  • ญาณสมาธิ ๒๔ ญาณวิปัสสนา ๗๒
  • นิพพิทาญาณ ๘ นิพพิทานุโลมญาณ ๘
  • นิพพิทาปฏิปัสสัทธิญาณ ๘ วิมุตติสุขญาณ ๒๑

ครั้งที่ ๘  ยุคนัทธกถา

  • สมถปัพพังคมวิปัสสนา
  • วิปัสสนาปุพพังคสมถะ
  • สมถวิปัสสนายุคนัทธะ
  • ธัมมุทธัจจวิคคหิตมานัส

ครั้งที่ ๙  สติปัฏฐานกถา

  • สติปัฏฐาน
  • สติปัฏฐานภาวนา
  • อนุปัสสนา ๗ กับ ธรรมที่ถูกละ ๗
  • ความหมายของภาวนา

ครั้งที่ ๑๐  วิปัสสนากถา

  • อนุโลมิกขันติ กับ สัมมัตตนิยาม
  • อาการของวิปัสสนา ๔๐
  • อาการ ๔๐ จัดลงในไตรลักษณ์

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

– แนวสังเขปรายวิชา
– วัตถุประสงค์ของรายวิชา
– การวัดและประเมินผล
– ความหมายของปฏิสัมภิทามรรค

สัปดาห์ ที่ ๒

– ความสำคัญของปฏิสัมภิทามรรค
– โครงสร้างของคัมภีร์
– เนื้อหาย่อใน ๓๐ กถาและลำดับการแสดง

สัปดาห์ ที่ ๓ – ๕

– สภาวญาณ ๗๓ ในญาณกถา
– หมวดธรรมสำคัญในสุตมยญาณนิทเทส

สัปดาห์ ที่ ๖

– การขยายความความเห็นผิดในทิฏฐิกถา
– วิธีการขยายความหลักธรรม

สัปดาห์ ที่ ๗ – ๘

– อธิบายวิธีการปฏิบัติวิปัสสนาตามแนวอานาปานสติ ๑๖ ขั้นในอานาปานัสสติกถา
– วิธีทำกรรมฐานแบบต่าง ๆ

สัปดาห์ ที่ ๙

การขยายความหลักธรรมสำคัญในกระบวนการปฏิบัติวิปัสสนา

สัปดาห์ ที่ ๑๐

เชื่อมโยงปฏิสัมภิทามรรคกับพระพุทธพจน์ในพระสูตรต่าง ๆ

สัปดาห์ ที่ ๑๑ – ๑๕

นิสิตนำเสนอผลงานวิจัย การวิเคราะห์หลักธรรมที่ท่านพระสารีบุตรแสดงไว้ในคัมภีร์

สัปดาห์ ที่ ๑๖

สรุปรายวิชา การส่งงานที่มอบหมาย และข้อสอบปลายภาคเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม