คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความหมายของปัฏฐานโดยคำแปลและอธิบายตามอรรถกถา ศึกษาโครงสร้างของคัมภีร์ ปัฏฐานซึ่งประกอบด้วย ปัฏฐาน ๖ หมวดโดยนำติกมาติกาและทุกมาติกามาทำการจำแนก วิธีการแสดง ๔ นัย แสดงโดย ๗ วาระ ปัจจยสัตติ ๔ แบบ ตอนตั้งคำถามเป็นปุจฉาวาระ และตอนตอบคำถามเป็นวิสัชชนาวาระ ศึกษาปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัยเป็นต้น อธิบายปัจจัยธรรม ปัจจยุปปันนธรรม และปัจจนิก ธรรมของแต่ละปัจจัย

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมาย และโครงสร้างการแสดงคัมภีร์ปัฏฐาน
  • เพื่อให้นิสิตสามารถจำแนกปัฏฐาน ๖ หมวดโดยนำติกมาติกาและทุกมาติกามาจำแนก คือ (๑) ติกปัฏฐาน (๒) ทุกปัฏฐาน (๓) ทุกติกปัฏฐาน (๔) ติกทุกปัฏฐาน (๕) ติกติกปัฏฐาน (๖) ทุกทุกปัฏฐาน
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจวิธีการของปัฏฐาน โดยนัย ๔ คือ (๑) ธัมมานุโลมนัย (๒) ธัมมปัจจนียนัย (๓) ธัมมานุโลมปัจจนียนัย (๔) ธัมมปัจจนียานุโลมนัย โดยวาระ ๗ คือ (๑) ปฏิจจวาระ (๒) สหชาตวาระ (๓) ปัจจยวาระ (๔) นิสสยวาระ (๕) สังสัฏฐวาระ (๖) สัมปยุตตวาระ (๗) ปัญหาวาระ และโดยปัจจยสัตติ ๔ คือ (๑) ปัจจยานุโลมวาร (๒) ปัจจยปัจจนียวาร (๓) ปัจจยานุโลมปัจจนียวาร (๔) ปัจจยปัจจนียานุโลมวาร ทั้งในปุจฉาวาระและวิสัชชนาวาระ
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจรูปประโยคของปัฏฐาน สามารถแยกแยะกัตตุบท กัมมบท สัมปทานบทว่ามีความหมายและองค์ธรรมอย่างไร
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจวิธีนับจำนวนปัฏฐานในแง่มุมต่าง ๆ
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจอำนาจปัจจย ๒๔ แบบมีเหตุปัจจัยเป็นต้น

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  ปัฏฐานปาลิ ๑

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล

ครั้งที่ ๒  ปัฏฐานปาลิ ๒

  • ความหมายของธัมมสังคณี
  • โครงสร้างคัมภีร์ธัมมสังคณี
  • มาติกา ๒
  • กัณฑ์ ๔

ครั้งที่ ๓  ปัฏฐานปาลิ ๓

  • รูปวิเคราะห์ศัพท์ กุสลติกะ
  • องค์ธรรมของกุสลติกะ
  • จัดสงเคราะห์โดยขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ

ครั้งที่ ๔  ปัฏฐานปาลิ ๔

  • อธิบายวิปากติกะ
  • อธิบายเหตุทุกะ
  • วิเคราะห์โดยศัพท์และองค์ธรรม
  • สงเคราะห์โดยขันธ์เป็นต้น

ครั้งที่ ๕  ปัฏฐานปาลิ ๕

  • อธิบายจิตตุปปาทกัณฑ์
  • วิธีการแสดงจิตและเจตสิก
  • มหาวาระ ๓

ครั้งที่ ๖  ปัฏฐานปาลิ ๖

  • จำแนกสภาวธรรมในกุศลจิต
  • จัดธรรม ๑๗ หมวดและเยวาปานกธรรม
  • วิเคราะห์โดยชื่อและสภาวะ

ครั้งที่ ๗  ปัฏฐานปาลิ ๗

  • การแสดงรูปในรูปกัณฑ์
  • การแสดงติกและทุกะในนิกเขปกัณฑ์
  • การแสดงองค์ในอัตถกถากัณฑ์

ครั้งที่ ๘  ปัฏฐานปาลิ ๘

  • โครงสร้างและเนื้อหาของคัมภีร์วิภังค์
  • วิภังค์ ๑๘ อย่างและการจัดหมวดหมู่
  • วิธีการแสดงธรรมในวิภังค์

ครั้งที่ ๙  ปัฏฐานปาลิ ๙

  • ความหมายขันธ์และองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

ครั้งที่ ๑๐  ปัฏฐานปาลิ ๑๐

  • ความหมายอายตนะและองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

ครั้งที่ ๑๑  ปัฏฐานปาลิ ๑๑

  • ความหมายธาตุและองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

ครั้งที่ ๑๒  ปัฏฐานปาลิ ๑๒

  • ความหมายอริยสัจและองค์ธรรม
  • อธิบายโดยสุตตันตภาชนีย์
  • อธิบายโดยอภิธัมมชานีย์
  • อธิบายโดยปัญหาปุจฉกะ

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

๑. แนะนำแผนการสอน
   ๑.๑ คำอธิบายรายวิชา
   ๑.๒ วัตถุประสงค์รายวิชา
   ๑.๓ กิจกรรมการเรียนการสอน
   ๑.๔ วิธีการประเมินผล
๒. ความเป็นมาของคัมภีร์อภิธรรม
๓. ความหมายและลักษณะพิเศษของคัมภีร์ปัฏฐาน

สัปดาห์ ที่ ๒

๑. ติกมาติกาและทุกมาติกาย่อ
๒. ปัฏฐาน ๖ หมวด
๓. นัย ๔

สัปดาห์ ที่ ๓ – ๔

๑. วิธีการของปัฏฐาน อธิบายการนำปัฏฐาน ๖ หมวด นัย ๔ มาแสดงโดยวาระ ๗ และปัจจยสัตติ ๔
๒. วิธีตั้งคำถามในปุจฉาวาระและวิธีตอบคำถามในวิสัชชนาวาระ

สัปดาห์ ที่ ๕ – ๖

วิธีแยกองค์ประกอบในรูปประโยคบาลี เป็นกัตตุบท กัมมบท สัมปานบท บทเหล่านั้นแสดงระบุเป็นปัจจัยธรรม ปัจจยุปปันนธรรม

สัปดาห์ ที่ ๗ – ๘

วิธีการนับจำนวนปัฏฐาน จากปัฏฐาน ๒๔ จนกระทั่งเป็นอนันตนัย

สัปดาห์ ที่ ๙ – ๑๒

อธิบายปัจจยสัตติ ๒๔ ปัจจัย ได้แก่ เหตุปัจจัย อารัมมณปัจจัย อธิปติปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย โดยอธิบายความหมาย ปัจจัยธรรม ปัจจยุปปันนธรรม และปัจจนิกธรรมในแต่ละปัจจัย

สัปดาห์ ที่ ๑๓ – ๑๔

อธิบายปัจจยสัตติ ๒๔ ปัจจัย ได้แก่ กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย อินทรียปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย อวิคตปัจจัย โดยอธิบายความหมาย ปัจจัยธรรม ปัจจยุปปันนธรรม และปัจจนิก ธรรมในแต่ละปัจจัย

สัปดาห์ ที่ ๑๕

สรุปปัฏฐาน การจัดหมวดหมู่ปัจจัย ลักษณะพิเศษและคุณค่าของการอธิบายหลักธรรมแบบปัฏฐานโดยภาพรวม และการนำองค์ความไปประยุกต์สำหรับอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ

สัปดาห์ ที่ ๑๖

ทดสอบในชั้นเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ฉบับแปลเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย. คัมภีร์มหาปัฏฐาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๔๙.
  • _______ . มาติกาโชติกะ. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๓.
  • _______ . ปริจเฉท ๑ – ๒ – ๖ จิต เจตสิก รูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๓.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม