คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม ความหมายของธาตุกถาและปุคคลบัญญัติปาลิ โครงสร้างของคัมภีร์ธาตุกถา มาติกาทั้ง ๕ ลักษณะพิเศษของการอธิบายสภาวธรรมในรูปแบบธาตุกถา โครงสร้างรูปประโยคบาลีของการแสดงธาตุกถา วิธีการเขียนแลอธิบายหลักธรรม คือ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะเป็นต้น ด้วยรูปแบบของธาตุกถา โครงสร้างของคัมภีร์ปุคคลบัญญัติ การจำแนกสัจจะ ๒ ประเภท การจำแนกองค์ธรรมปรมัตถ์ของ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๒ อินทรีย์ ๒๒ สัจจะ ๔ และศึกษาตัวอย่างจำแนกบุคคลหมวดละ ๑ จนถึงหมวดละ ๑๐ อธิบายการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปใช้ในการอธิบายหลักธรรมให้ถูกต้อง โดยยกตัวอย่างหลักธรรมประกอบ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมาย และโครงสร้างของคัมภีร์ธาตุกถาและปุคคลบัญญัติ
  • เพื่อให้นิสิตมีความรู้ในวิธีการของมาติกาทั้ง ๕ คือ นยมาติกา อัพภันตรมาติกา นยมุขมาติกา ลักขณมาติกา และพาหิรมาติกา
  • เพื่อให้นิสิตสามารถเขียนแสดงหลักธรรม เช่น ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒ เป็นต้น ตามรูปแบบโครงสร้างของธาตุกถาปาลิ ได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจวิธีการจำแนกสัจจะ ๒ ประเภท คือ ปรมัตถสัจจะและสมมติสัจจะ
  • เพื่อให้นิสิตสามารถจำแนกองค์ธรรมของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ สัจจะ ๔ และอธิบายอรรถะได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจการจำแนกบุคคลตั้งแต่หมวดละ ๑ จนถึงหมวดละ ๑๐

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  ธาตุกถาปาลิ ๑

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล

ครั้งที่ ๒  ธาตุกถาปาลิ ๒

  • ความหมายและมาติกา ๕
  • นยมาติกา
  • อัพภันตรมาติกา
  • นยมุขมาติกา
  • ลักขณมาติกา
  • พาหิรมาติกา

ครั้งที่ ๓  ธาตุกถาปาลิ ๓

  • ปรมัตถธรรม ๔ กับ ขันธ์ ๕
  • วิธีเขียนปฐมนย สังคหาสังคหปทนิทเทส
  • วิธีตรวจสอบสังคหะ อสังคหะ

ครั้งที่ ๔  ธาตุกถาปาลิ ๔

  • ปรมัตถธรรม ๔ กับ อายตนะ ๑๒
  • วิธีเขียนปฐมนย เพื่อแสดงธรรม
  • วิธีตรวจสอบสังคหะ อสังคหะ

ครั้งที่ ๕  ธาตุกถาปาลิ ๕

  • ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒
  • อัพภันตร ๑๐๕ บท พาหิร ๒๖๖ บท
  • วิธีเขียน ปฐมนย เพื่อแสดงธรรม
  • วิธีตรวจสอบ สังคหะ อสังคหะ

ครั้งที่ ๖  ธาตุกถาปาลิ ๖

  • ทุติยนย สังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส
  • ตติยนย อสังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส
  • จตุตถนย สังคหิเตนสังคหิตปทนิทเทส
  • ปัญจมนย อสังคหิเตนอสังคหิตปทนิทเทส

ครั้งที่ ๗  ธาตุกถาปาลิ ๗

  • ลักษณะสัมปยุตตและวิปปยุตต
  • ฉัฏฐนย สัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส
  • การเขียนแสดงขันธ์ อายตนะ ธาตุ เป็นต้น

ครั้งที่ ๘  ธาตุกถาปาลิ ๘

  • สัตตมนย สัปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส
  • อัฏฐมนย วิปปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส
  • นวมนย สัมปยุตเตนสัมปยุตตปทนิทเทส
  • ทสมนย วิปปยุตเตนวิปปยุตตปทนิทเทส

ครั้งที่ ๙  วิภังคปาลิ ๒

  • เอกาทสมนย สังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส
  • ทวาทสมนย สัมปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส
  • เตรสมนย อสังคหิเตนสัมปยุตตวิปปยุตตปทนิทเทส
  • จุททสมนย วิปปยุตเตนสังคหิตาสังคหิตปทนิทเทส
  • สรุปธาตุกถา

ครั้งที่ ๑๐ ปุคคลปัญญัตติปาลิ ๑

  • ความหมายของปุคคลปัญญัตติ
  • สัจจะ ๒ บัญญัติ ๖
  • ประเภทและองค์ธรรมของบัญญัติ ๕
  • ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ
  • สัจจบัญญัติ อินทริยบัญญัติ

ครั้งที่ ๑๑  ปุคคลปัญญัตติปาลิ ๒

  • เอกกนิทเทส บุคคลหมวดละ ๑
  • นิทเทสบุคคล ๕๔

ครั้งที่ ๑๒  ปุคคลปัญญัตติปาลิ ๓

  • ทุกนิทเทส … ทสกนิทเทส
  • บุคคลหมวดละ ๒ … บุคคลหมวดละ ๑๐
  • พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
  • สรุปปุคคลปัญญัตติปาลิ

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

(๑) แนะนำแผนการเรียนการสอน
(๒) ความเป็นมาและเนื้อหาโดยสังเขบของคัมภีร์อภิธรรม ๗ คัมภีร์
(๓) ความหมายและลักษณะโครงสร้างของคัมภีร์ธาตุกถาปาลิ

สัปดาห์ ที่ ๒

(๑) หลักปรมัตถธรรม ๔
(๒) การสงเคราะห์ธรรมโดยความเป็นขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ และอินทรีย์ ๒๒ เป็นต้น
(๓) องค์ประกอบของธาตุกถาปาลิ
(๔) วิธีเขียนประโยคบาลีถามตอบตามแบบธาตุกถาเพื่ออธิบายหลักธรรม

สัปดาห์ ที่ ๓

ปฐมนยสังคหาสังคหปทนิทเทส อธิบายขันธ์ ๕ พร้อมอธิบายองค์ธรรม เขียนถามตอบตามแบบธาตุกถาปาลิ

สัปดาห์ ที่ ๔

ปฐมนยสังคหาสังคหปทนิทเทส อธิบายอายตนะ ๑๒ พร้อมอธิบาย เขียนถามตอบตามแบบธาตุกถาปาลิ

สัปดาห์ ที่ ๕

ปฐมนยสังคหาสังคหปทนิทเทส อธิบายธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ติกมาติกา พร้อมอธิบายองค์ธรรม เขียนถามตอบตามแบบธาตุกถาปาลิ

สัปดาห์ ที่ ๖ – ๗

ทุติยนย, ตติยนย, จตุตถนย, ปัญจมนย วิธีการเขียนประโยคบาลีถามตอบ พร้อมอธิบายองค์ธรรม

สัปดาห์ ที่ ๘ – ๑๐

ฉัฏฐนย สัมปโยควิปปโยคปทนิทเทส ของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ เป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๑๑

(๑) ความหมายและโครงสร้างของคัมภีร์ปุคคลบัญญัติปาลิ
(๒) สัจจะ ๒ ชนิด
(๓) บัญญัติ ๖ ชนิด

สัปดาห์ ที่ ๑๒

อธิบายองค์ธรรมปรมัตถ์ของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ และสัจจะ ๔

สัปดาห์ ที่ ๑๓ – ๑๕

(๑) ยกตัวอย่างการจำแนกบุคคลหมวดละ ๑ ถึงหมวดละ ๑๐
(๒) อธิบายลักษณะของพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

สัปดาห์ ที่ ๑๖

ทดสอบในชั้นเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ฉบับแปลเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย. ธาตุกถาสรูปัตถนิสสยะ ชั้นมัชฌิมอาภิธรรมิกะเอก. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, พิมพ์ครั้งที่ ๖, ๒๕๕๓.
  • _______ . ปริจเฉท ๑ – ๒ – ๖ จิต เจตสิก รูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๓.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม