คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาประวัติความเป็นมา โครงสร้างและพัฒนาการของคัมภีร์พระไตรปิฎก การจำแนกประเภทคัมภีร์ในพระไตรปิฎก เนื้อหาโดยสังเขป พระสูตรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและหลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • นิสิตเข้าใจความหมายและความเป็นมาของพระไตรปิฎก
  • นิสิตเข้าใจการจัดหมวดหมู่และลักษณะพิเศษของคัมภีร์พระไตรปิฎก
  • นิสิตเข้าใจโครงสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกและคัมภีร์อธิบาย
  • นิสิตเข้าใจเนื้อหาโดยสังเขปในพระไตรปิฎก
  • นิสิตเข้าใจพระสูตรที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและหลักการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
  • นิสิตเข้าใจวิธีการวิเคราะห์หาอริยสัจ ๔ ที่ประกอบอยู่ในพระพุทธพจน์

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  พระไตรปิฎกศึกษา ๑

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล
  • คัมภีร์ประกอบการศึกษาและค้นคว้า

ครั้งที่ ๒  พระไตรปิฎกศึกษา ๒

  • ความหมายของพระไตรปิฎก
  • วินัย ๓ ความหมาย
  • สุตตันต ๖ ความหมย
  • อภิธรรม ๕ ความหมาย
  • ประวัติความเป็นมา

ครั้งที่ ๓  พระไตรปิฎกศึกษา ๓

  • การจัดหมวดหมู่และลักษณะพิเศษ
  • รส ธรรมวินัย นิกาย ๕ องค์ ๙ ธรรมขันธ์
  • ลักษณะพิเศษพระไตรปิฎก ๙ อย่าง

ครั้งที่ ๔  พระไตรปิฎกศึกษา ๔

  • โครงสร้างคัมภีร์พระไตรปิฎกและอรรถกถา
  • พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม อา ปา ม จุ ปะ
  • พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม ที ม สํ อํ ขุ
  • พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม สํ วิ ธา ปุ ก ย ป

ครั้งที่ ๕  พระไตรปิฎกศึกษา ๕

  • อริยสัจ ๔ โดยย่อ
  • อธิบายศัพท์ อริยสัจ 
  • อธิบาย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  • วิเคราะห์องค์ธรรม

ครั้งที่ ๖  พระไตรปิฎกศึกษา ๖

  • เนื้อหาย่อของพระไตรปิฎก ๔๕ เล่ม

ครั้งที่ ๗  พระไตรปิฎกศึกษา ๗

  • ธรรมที่ตรัสรู้ ปฏิจจสมุปบาทกับนิพพาน
  • ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร
  • มัชฌิมปฏิปทา
  • อริยสัจ ๔ และ ญาณ ๓ รอบ

ครั้งที่ ๘  พระไตรปิฎกศึกษา ๘

  • ทฤษฎีหลักการปฏิบัติวิปัสสนา
  • วิธีปฏิบัติวิปัสสนาเพื่อเห็นความจริง
  • อนัตตลักขณสูตร

ครั้งที่ ๙  พระไตรปิฎกศึกษา ๘

  • วิธีประกาศสัจจะแก่ฆราวาสและนักบวช
  • อนุปุพพิกถา ๕ ประการ
  • อาทิตตปริยายสูตร

ครั้งที่ ๑๐  พระไตรปิฎกศึกษา ๑๐

  • สัมมาทิฏฐิเป็นหัวหน้าของมรรค
  • มหาจัตตารีสกสูตร

ครั้งที่ ๑๑  พระไตรปิฎกศึกษา ๑๑

  • มหาสติปัฏฐานสูตร
  • บุพพภาคแห่งอริยมรรค

ครั้งที่ ๑๒  พระไตรปิฎกศึกษา ๑๒

  • อุทเทสแห่งสติปัฏฐาน ๔
  • กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน
  • ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ครั้งที่ ๑๓  พระไตรปิฎกศึกษา ๑๓

  • อริยสัจในสติปัฏฐาน
  • อริยสัจในนิทเทส ๒๑ หมวด
  • อริยสัจตามนัยอรรถกถา

ครั้งที่ ๑๔  พระไตรปิฎกศึกษา ๑๔

  • วิเคราะห์อริยสัจตามแนวเนตติปกรณ์
  • เทสนาหาระ ๖ กับ อริยสัจ ๔

ครั้งที่ ๑๕  พระไตรปิฎกศึกษา ๑๕

  • ตัวอย่างวิเคราะห์อริยสัจด้วยเทสนาหาระ

ครั้งที่ ๑๖  พระไตรปิฎกศึกษา ๑๖

  • สรุปรายวิชาและแนะแนวข้อสอบ

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

๑. แนะนำแผนการสอน
   ๑.๑ คำอธิบายรายวิชา
   ๑.๒ วัตถุประสงค์รายวิชา
   ๑.๓ กิจกรรมการเรียนการสอน
   ๑.๔ วิธีการประเมินผล
๒. แนะนำพระไตรปิฎก และเอกสารประกอบการศึกษา

สัปดาห์ ที่ ๒

ความหมายและประวัติความเป็นมาของพระไตรปิฎก

สัปดาห์ ที่ ๓

การจัดแบ่งหมวดหมู่คำสอน และลักษณะพิเศษของพระไตรปิฎก

สัปดาห์ ที่ ๔

โครงสร้างของคัมภีร์พระไตรปิฎก และคัมภีร์อธิบาย

สัปดาห์ ที่ ๕

เนื้อหาโดยสังเขปของพระไตรปิฎก

สัปดาห์ ที่ ๖ – ๑๒

พระสูตรสำคัญที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีและหลักการเจริญวิปัสสนกรรมฐาน เช่น ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, อนัตตลักขณสูตร, มหาจัตตารีสกสูตร, มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๑๓ – ๑๕

วิธีการวิเคราะห์อริยสัจ ๔ ในพระพุทธพจน์ ด้วยเทสนาหาระเป็นต้นในคัมภีร์เนตติปกรณ์

สัปดาห์ ที่ ๑๖

สรุปเนื้อหารายวิชา

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม