คำอธิบายรายวิชา

ศึกษาความเป็นมาของคัมภีร์พระอภิธรรม ความหมายของยมกโดยคำแปล ศึกษาโครงสร้างของคัมภีร์ยมก ซึ่งประกอบด้วยยมกทั้ง ๑๐ ยมก ลักษณะพิเศษของการอธิบายสภาวธรรมในรูปแบบยมก ส่วนประกอบของยมก โครงสร้างของแต่ละยมก โดยในมูลยมก มีโครงสร้างการแสดงที่แตกต่างจากยมกอื่น ๆ ส่วนในขันธยมกเป็นต้นไป มีโครงร้างแบบเดียวกัน แยกเป็นอุทเทส นิทเทส และแสดงโดยวาระ ๓ อธิบายความหมายในแต่ละวาระ รูปแบบการตั้งคำถาม ยกตัวอย่างแจกแจงสภาวธรรมในยมก ทำให้เข้าใจเหตุผลว่า เหตุใดจึงตั้งคำถามและตอบเช่นนั้น อธิบายการนำองค์ความรู้ที่ได้จากแต่ละยมก นำไปใช้ในการอธิบายหลักธรรมให้ถูกต้อง โดยยกตัวอย่างหลักธรรมประกอบ

จุดมุ่งหมายของรายวิชา

  • เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย และการอธิบายสภาวธรรมในรูปแบบยมกทั้ง ๑๐ ยมก คือ (๑) มูลยมก (๒) ขันธยมก (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก (๕) สัจจยมก (๖) สังขารยมก (๗) อนุสยยมก (๘) จิตตยมก (๙) ธัมมยมก (๑๐) อินทริยยมก
  • เพื่อให้นิสิตสามารถจำแนกส่วนประกอบของยมก ที่ประกอบด้วย ๓ คู่ ได้แก่ (๑) อนุโลม – ปฏิโลม (๒) ปุจฉา – วิสัชชนา (๓) สันนิฏฐานบท – สังสยบท
  • เพื่อให้นิสิตสามารถจำแนกปัญหาในยมก ๔ ประเภท ได้แก่ (๑) ปุเรปัญหา (๒) ปัจฉาปัญหา (๓) ปริปุณณปัญหา (๔) โมฆปัญหา ได้อย่างถูกต้อง
  • เพื่อให้นิสิตเข้าใจวิธีการถามตอบและโครงสร้างในแต่ละยมก โดยในมูลยมกมีโครงสร้างเฉพาะ ส่วนในยมกอื่น ๆ อีก ๙ ยมกมีขันธยมกเป็นต้นมีโครงสร้างเหมือนกัน แบ่งอุทเทส นิทเทส และวาระ ๓ ได้แก่ (๑) ปัณณัตติวาระ (๒) ปวัตติวาระ (๓) ปริญญาวาระ เป็นต้น
  • เพื่อให้นิสิตสามารถนำองค์ความรู้ไปอธิบายหลักธรรมได้อย่างถูกต้อง

เนื้อหาและวีดีโอบรรยาย

ครั้งที่ ๑  ยมกปาลิ ๑

  • แนะนำแผนการเรียนการสอน
  • วัตถุประสงค์ของรายวิชา
  • กิจกรรมการเรียนการสอน
  • วิธีการประเมินผล

ครั้งที่ ๒  ยมกปาลิ ๒

  • ความหมายและโครงสร้างคัมภีร์
  • ส่วนประกอบยมก ๓ คู่
  • ยมก ๑๐ มี ขัยธยมก อายตนยมก  เป็นต้น
  • โครงสร้างของมูลยมก

ครั้งที่ ๓  ยมกปาลิ ๓

  • มูลยมก มูลนัย มูลมูลนัย มูลกนัย
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๔  ยมกปาลิ ๔

  • มูลกนัย เอกมูล อัญญมัญญมูลยมก
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๕  ยมกปาลิ ๕

  • อกุสลบท เอกมูล อัญญมัญญมูลยมก
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๖  ยมกปาลิ ๖

  • ขันธยมก ปทโสธนวาระ
  • องค์ธรรมของบทจำนวน ๑๐ บท
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๗  ยมกปาลิ ๗

  • โสธนวาระและโสธนมูลจักกวาระ
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๘  ยมกปาลิ ๘

  • สุทธขันธและสุทธขันธมูลจักกวาระ
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๙  ยมกปาลิ ๙

  • ปัณณัตติวาระ อายตน ธาตุ สัจจยมก
  • องค์ธรรมของบท ๒๔ บท ๓๒ และ บท ๘
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๑๐  ยมกปาลิ ๑๐

  • โครงสร้างขันธยมก ปวัตติวาระ
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

ครั้งที่ ๑๑  ยมกปาลิ ๑๑

  • สรุปขันธยมก ปวัตติวาระ

ครั้งที่ ๑๒  ยมกปาลิ ๑๒

  • ขันธยมก ปริญญาวาระ
  • การเขียนประโยคบาลีและคำแปล
  • การวิเคราะห์องค์ธรรมในบาลี

แผนการเรียนการสอน

สัปดาห์ ที่ ๑

๑. แนะนำแผนการสอน
   ๑.๑ คำอธิบายรายวิชา
   ๑.๒ วัตถุประสงค์รายวิชา
   ๑.๓ กิจกรรมการเรียนการสอน
   ๑.๔ วิธีการประเมินผล
๒. ความเป็นมาของคัมภีร์อภิธรรม
๓. ความหมายและลักษณะพิเศษของคัมภีร์ยมกปาลิ

สัปดาห์ ที่ ๒

๑. โครงสร้างการแสดงธรรมในแบบยมกปาลิ
๒. ยมก ๑๐ เรื่อง ได้แก่ (๑) มูลยมก (๒) ขันธยมก (๓) อายตนยมก (๔) ธาตุยมก (๕) สัจจยมก (๖) สังขารยมก (๗) อนุสยยมก (๘) จิตตยมก (๙) ธัมมยมก (๑๐) อินทริยยมก

สัปดาห์ ที่ ๓

๑. ส่วนประกอบยมก ๓ คู่ ได้แก่ อนุโลม-ปฏิโลม, ปุจฉา-วิสัชชนา, สันนิฏฐานบท-สังสยบท
๒. โครงสร้างของมูลยมก จำแนกเป็นวาระ ๑๐ บท ๔ นัย ๔ ยมก ๓

สัปดาห์ ที่ ๔

๑. อธิบายมูลยมก โดยวาระ ๑๐ มีมูลวาระเป็นต้น, บท ๔ มีกุศลบทเป็นต้น, นัย ๔ มีมูลนัยเป็นต้น, ยมก ๓ มีมูลยมกเป็นต้น
๒. ปัญหา ๔ มีปุเรปัญหา เป็นต้น

สัปดาห์ ที่ ๕

๑. สภาวธรรมที่เป็นมูลคือเจตสิก ๖ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
๒. วิธีหาองค์ธรรมในยมก

สัปดาห์ ที่ ๖ – ๗

๑. อธิบายมูลยมกในคัมภีรยมกปาลิ วิเคราะห์ตามโครงสร้าง
๒. หาองค์ธรรมในยมกนั้น ๆ

สัปดาห์ ที่ ๘ – ๑๐

๑. อธิบายขันธยมก
๒. องค์ธรรมของขันธ์ ๕
๓. โครงสร้างของขันธยมก แยกเป็นอุทเทส นิทเทส แยกเป็นวาระ ๓ ได้แก่ ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ ในปัณณัตติวาระ แบ่งเป็นวาระย่อย ๔ วาระ
๔. วิธีการแสดงและหาองค์ธรรม

สัปดาห์ ที่ ๑๐ – ๑๒

๑. อธิบายอายตนยมก
๒. องค์ธรรมของอายตนะ ๑๒
๓. โครงสร้างของอายตนยมก แยกเป็นอุทเทส นิทเทส แยกเป็นวาระ ๓ ได้แก่ ปัณณัตติวาระ ปวัตติวาระ ปริญญาวาระ ในปัณณัตติวาระแบ่งเป็นวาระย่อย ๔ วาระ
๔. วิธีการแสดงและหาองค์ธรรม
๕. การนำไปความไปประยุกต์ในการอธิบายหลักธรรม

สัปดาห์ ที่ ๑๓ – ๑๔

๑. ยกตัวอย่างยมกอื่น ๆ มีสัจจยมกเป็นต้น
๒. วิธีการแสดงและหาองค์ธรรม

สัปดาห์ ที่ ๑๕

สรุปยมกปาลิ ลักษณะพิเศษและคุณค่าของการอธิบายหลักธรรมแบบยมกโดยภาพรวม การนำไปประยุกต์สำหรับอธิบายหลักธรรม

สัปดาห์ ที่ ๑๖

ทดสอบในชั้นเรียน

เอกสารและแหล่งค้นคว้า

เอกสารและตำราหลัก

  • มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๐๐.
  • _______ . อรรถกถาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาอฏฺกฐถา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๒.
  • _______ . คัมภีร์ฎีกาภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาฎีกา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วิญญาณ, ๒๕๓๙.
  • _______ . พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด ๙๑ เล่ม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหา มกุฏราชวิทยาลัย.

เอกสารและข้อมูลแนะนำ 

  • มหามกุฏราชวิทยาลัย. อภิธัมมัตถสังคหบาลีและอภิธัมมัตถวิภาวินีฎีกา ฉบับแปลเป็นไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
  • อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย. มูลยมกและขันธยมก มหาอาภิธรรมิกะตรี. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.อินเตอร์ พริ้น จำกัด, ๒๕๔๗.
  • _______ . อายตนยมกและอาตุยมก มหาอาภิธรรมิกะโท. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๒.
  • _______ . ปริจเฉท ๑ – ๒ – ๖ จิต เจตสิก รูป นิพพาน. กรุงเทพมหานคร: หจก.ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๕๓.

แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม